ระดับชั้นของหลักฐานวิทยาศาสตร์
การแบ่งชั้นของหลักฐานวิทยาศาสตร์ตามเกณฑ์ของ ILCOR[1] จะแบ่งออกเป็น 5 ระดับตามความเชื่อถือได้จากมากไปหาน้อย ดังนี้
ทุกวันนี้คนอยากรู้อะไรก็เข้าไปหาในอินเทอร์เน็ต แล้วคนส่วนใหญ่ก็เชื่อข้อมูลทุกอย่างที่ผ่านมาทางอินเทอร์เน็ตหรือส่งต่อๆกันมาทางไลน์และเฟซบุ๊กแบบเชื่ออะไรกันง่ายๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความเชื่อแบบที่ถือว่าตัวเองมีหัวทางวิทยาศาสตร์โดยที่ถ้าบทความหรือสิ่งที่แชร์ต่อๆกันมามีการจั่วหัวว่ามีผลวิจัยออกมาแล้วว่าอย่างนั้นอย่างนี้ก็จะยิ่งเชื่อมากขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้เผยแพร่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในความเป็นจริงแล้วก็มีเจตนาที่แตกต่างกันไป บ้างจงใจเผยแพร่ข้อมูลเท็จเพื่อประโยชน์ทางการค้า บ้างเผยแพร่ข้อมูลด้วยเจตนาดีแต่ไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนเผยแพร่นั้นเป็นข้อมูลเท็จที่มีผลเสียต่อผู้อ่าน เพราะการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เองก็มีเจตนาที่แตกต่างกันตั้งแต่แรกอยู่แล้ว กล่าวคือบ้างทำวิจัยเพื่อขายของ บ้างทำวิจัยเพื่อขายข่าว บ้างทำวิจัยเพื่อจะได้มีคนจ้างให้ทำงาน ดังนั้นความเชื่อถือได้และประโยชน์ของงานวิจัยแต่ละชิ้นจึงมีความแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งในอีกแง่มุมนึงที่จะต้องคำนึงถึงทุกครั้งก่อนการเสพข้อมูลต่างๆบนอินเทอร์เน็ตก็คือ การเลือกใช้ประโยชน์จากผลวิจัยในสี่ประเด็นใหญ่ๆซึ่งประกอบด้วย ประเด็นระดับชั้นของหลักฐาน ประเด็นด้านคุณภาพของหลักฐาน ประเด็นการใช้ลูกเล่นหลอกขายยาผ่านงานวิจัย และประเด็นข้อจำกัดของหลักฐานวิทยาศาสตร์
การแบ่งชั้นของหลักฐานวิทยาศาสตร์ตามเกณฑ์ของ ILCOR[1] จะแบ่งออกเป็น 5 ระดับตามความเชื่อถือได้จากมากไปหาน้อย ดังนี้
การรู้จักคัดกรองคุณภาพของหลักฐานวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้เราเข้าใจและเลือกใช้ข้อมูลจากงานวิจัยได้อย่างถูกต้อง
ที่เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์เราจะช่วยให้คุณสามารถดูแลสุขภาพของตัวคุณเองได้ด้วยทักษะปฏิบัติซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วด้วยผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์