• EN    |    TH
  • +66 2-038-5115

เมื่อพบว่าสารชี้บ่งมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) สูงผิดปกติ

  • โรคมะเร็ง
  • Read Time - 3 Min

เมื่อพบว่าสารชี้บ่งมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) สูงผิดปกติ

ต่อมลูกหมากคืออะไร
ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland)” เป็นหนึ่งในอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ตั้งอยู่บริเวณคอของกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่สร้างน้ำและน้ำหลั่งต่างๆ ซึ้งเป็นอาหารของอสุจิ

ต่อมลูกหมากโต
ต่อมลูกหมากจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าเราจะย่างเข้าวัยผู้ใหญ่เต็มตัว ยิ่งอายุมากเท่าไหร่ ต่อมลูกหมากก็จะโตมากขึ้นเท่านั้น 

อาการต่อมลูกหมากโต
• ปัสสาวะบ่อย คืนหนึ่งตื่นมาปัสสาวะมากกว่า 2 ครั้ง 
• กลั้นปัสสาวะไม่ได้นาน เวลาปวดปัสสาวะต้องเบ่งหรือรอนานกว่าปกติ 
• เมื่อปัสสาวะออกมาก็ไหลไม่ต่อเนื่อง และยังรู้สึกว่าปัสสาวะไม่สุด

การทำพีอาร์ (PR)
PR ย่อมาจาก per rectal examination คือการตรวจขนาดของต่อมลูกหมาก โดยทั่วไปแพทย์จะใช้วิธีสวมถุงมือ เคลือบสารหล่อลื่น แล้วเอานิ้วมือสอดเข้าไปทางทวารหนักเพื่อคลำหาขนาดของต่อมลูกหมาก

การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
• หลักเลี่ยงอาหารจำพวกที่มีไขมันจากสัตว์สูง
(เพราะไขมันจำพวกนี้มีความเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก)

การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกมากที่นิยมทำในผู้ชายวัย 50-70 ปี
• คลำต่อมลูกหมากหรือการทำ PR (per rectal examination)
• การทำอัลตร้าซาวด์ผ่านหน้าทองหรือทางทวารหนัก
• เจาะเลือดหาสาร PSA ที่เป็นสารชี้บ่งมะเร็งต่อมลูกหมาก ( Prostate Specific Antigen, PSA)

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่มีการเติบโตช้ามาก ใช้ระยะเวลากว่าสิบปีถึงจะเข้าระยะอันตราย ผู้ป่วยส่วนมากมักจะเสียชีวิตด้วยโรคอื่นๆ เสียก่อนจะตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมาก 
แม้ว่างานวิจัยที่อย่างดีในยุโรปจะพบว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากแล้วรีบรักษาแต่ต้นมือ สามารถลดอัตราตายได้ประมาณ 20% แต่ก็ต้องแลกกับการเจ็บตัวฟรีจากการตรวจเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็นและการลงมือรักษาก่อนเวลาอันควรโดยที่ยังไม่ทราบว่าอย่างไหนจะมีน้ำหนักมากกว่ากัน

เนื่องจากหลักฐานปัจจุบันยังไม่อาจสรุปได้ว่าควรถือตามความเชื่อของฝ่ายใดมากกว่ากัน ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการเจาะเลือดดูสารพีเอสเอ.จึงต้องเป็นการตัดสินใจของผู้ป่วยเอง โดยแพทย์ทำได้เพียงแค่ให้ข้อมูลเท่านั้น ในกรณีที่ทำการตรวจไปแล้วและได้ผลออกมาแล้วว่าผิดปกติ แพทย์และผู้ป่วยต้องนั่งลงทำความเข้าใจความหมายของผลการตรวจให้ถ่องแท้ แล้วร่วมกันตัดสินใจว่าจะไปทางไหนระหว่างทางเลือกสองแพร่ง อันได้แก่
     1. รอไปก่อน ยังไม่ทำอะไรที่รุนแรง เพียงแต่ติดตามดูพีเอสเอ. และขนาดของต่อมลูกหมากจากการตรวจทางทวารหนักและการตรวจอัลตร้าซาวด์ต่อมลูกหมาก ตามรอบการตรวจร่างกายประจำปีไปตามปกติ จนกว่าจะมีหลักฐานว่าระดับพีเอสเอ. เพิ่มสูงยิ่งขึ้น หรือต่อมลูกหมากโตยิ่งขึ้นหรือมีอาการผิดปกติให้เห็นจึงค่อยเดินหน้าตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมากออกมาตรวจ
      2. ไม่ต้องรอ เดินหน้าตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมากออกมาตรวจเลย ถ้าผลการตรวจชิ้นเนื้อได้ผลว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจริง ก็เดินหน้าทำผ่าตัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมากไปเลย

ทั้งสองวิธี ไม่มีหลักฐานพอที่จะบอกได้ว่าวิธีใดดีกว่า ผู้ป่วยจึงต้องตัดสินใจเลือกเอาเอง