โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง และหลอดเลือดอุดตันมีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง
เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบกับสุขภาพของประชากรจำนวนมากแล้ว ปัจจุบันยังพบว่าเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งกำลังเผชิญกับปัญหาการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักของอัตราการเสียชีวิตในประชากรสูงถึงร้อยละ 60

ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังส่วนใหญ่ซึ่งได้รับการรักษาตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบันพบว่ามีแนวโนมของการเพิ่มระดับและปริมาณยาที่ได้รับมากขึ้น ยิ่งอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาแม้ว่าจะอยู่ในการควบคุมของแพทย์ก็ตาม
งานวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นในปัจจุบันพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป รับประทานอาหารฟาสฟู้ดเป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย และมีความเครียดสะสมเรื้อรัง เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การดำเนินไปของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่รุนแรงขึ้นได้

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยทางการแพทย์อีกหลายชิ้นซึ่งแสดงให้เห็นแล้วว่าอาหารที่เราบริโภคเข้าไปในแต่ละวันนั้นเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและยังเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของภาวะทุพลภาพจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยทางการแพทย์อีกหลายชิ้นซึ่งแสดงให้เห็นแล้วว่าอาหารที่เราบริโภคเข้าไปในแต่ละวันนั้นเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและยังเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของภาวะทุพลภาพจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอีกด้วย
เริ่มต้นการป้องกันและพลิกผันโรคอย่างไร?
โรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งพบมากในปัจจุบันโรคหนึ่ง เช่น โรคหัวใจอาจใช้เวลานานหลายปีกว่าจะเริ่มแสดงอาการ มีงานวิจัยทางการแพทย์ชิ้นหนึ่งได้ทำการศึกษาและชันสูตรศพทหารอเมริกันที่เสียชีวิตในสงครามโดยพบว่าเกือบทั้งหมดมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวในระดับที่รุนแรง ในขณะที่บางส่วนพบว่ามีภาวะหลอดเลือดแดงตีบอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นในคนที่ไม่มีอาการแสดงของโรคใดๆก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสหรือความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ในการจัดการปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพนั้น เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจปัจจัยบ่งชี้เสียก่อน โดยสมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกาได้กำหนดตัวบ่งชี้ทางสุขภาพอย่างง่าย
ซึ่งประกอบด้วย:
ความดันเลือด
ระดับคอเลสเตอรอล
น้ำหนักตัว
ปริมาณการบริโภคผักและผลไม้ต่อวัน (กี่เสิร์ฟวิ่ง/วัน) นิยาม หนึ่งเสิร์ฟวิ่งเท่ากับแอปเปิ้ล 1 ผล,เท่ากับผักสลัด 1 ถ้วย,เท่ากับผักต้มครึ่งถ้วย
ระดับน้ำตาลในเลือด
ระยะเวลาการออกกำลังกายต่อสัปดาห์ ( กี่นาที/สัปดาห์) ซึ่งเป็นการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง (แอโรบิก) ที่หนักถึงระดับหนักพอควร นิยามคำว่าหนักพอควรต้องหอบเหนื่อยแฮ่กๆจนร้องเพลงไม่ได้ แต่พูดได้ ให้เริ่มนับเวลาเมื่อเริ่มหอบแฮ่กๆเมื่อหายหอบก็เลิกนับเวลา
การสูบบุหรี่
โดยตัวบ่งชี้ทั้ง 7 นี้สามารถวัดได้ด้วยตัวเองที่บ้าน ยกเว้นการวัดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดที่ต้องทำในห้องแล็ปหรือสถานพยาบาล ซึ่งแนะนำว่าควรตรวจเช็คอย่างน้อยปีละครั้งในผู้ที่ไม่พบรอยโรค ในส่วนผู้ที่มีโรคแนะนำตรวจเช็คทุก 6 เดือนอย่างน้อยหรือตามแพทย์สั่ง
มีงานวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นได้แสดงให้เห็นแล้วว่าปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนมีสุขภาพดี มีอายุยืนยาว ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่จำเป็นต้องพึ่งยา การผ่าตัด หรือรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็คือการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่อไปนี้
- 1 รับประทานอาหารแบบพืชเป็นหลักและไขมันต่ำ
- 2 ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายตลอดทั้งวัน
- 3 จัดการความเครียดอย่างถูกวิธีและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- 4 เปิดรับสิ่งใหม่โดยการเข้าสังคมหรือเข้าร่วมกลุ่มเพื่อนเพื่อแลกปลี่ยนและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และงานวิจัยที่เชื่อถือได้บ่งชี้ว่าพันธุกรรมเป็นสาเหตุเพียงน้อยนิดประมาณ 5% ของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเท่านั้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยแวดล้อม เช่น อาหาร และรูปแบบของการใช้ชีวิต ทำให้วงการแพทย์ได้รับเอาการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้ว่าหลักการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตจะถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบันมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ อาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งรวมไปถึงการออกกำลังกาย การจัดการความเครียดที่ถูกต้อง และยังขาดทักษะปฏิบัติในเรื่องเหล่านี้มากพอที่จะป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตนเองได้
ที่เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ เราให้การช่วยเหลือผู้ป่วยและบุคคลทั่วไป ให้มีความรู้และทักษะปฏิบัติในเรื่องของอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง

เริ่มต้นสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองอย่างไร
การสร้างแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจให้กับตัวเองนั้นคนส่วนใหญ่อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องยาก แต่จริงๆแล้วเป็นเรื่องที่ง่ายมาก หากเรารู้เทคนิคที่ถูกต้อง

เข้าใจ หลักฐานวิทยาศาสตร์
หลักสำคัญมีอยู่ 4 ประเด็น คือ
1. การจัดระดับชั้นของความเชื่อถือได้
2. การประเมินคุณภาพของงานวิจัย
3. ข้อจำกัดของหลักฐานวิทยาศาสตร์
4. ผลประโยชน์ทับซ้อนทางการค้า
